บริษัทคลินิคจิต-ประสาท

 ห้องรับแขก

กลับไป ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม      

 

 

ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

โรคซึมเศร้า

(Major Depressive Disorder) 

 ..บุษกร  ภมร

     อารมณ์ซึมเศร้า  หดหู่  หรือสิ้นหวัง  อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิต  ซึ่งอาจเกิดจากความผิดหวัง  หรือการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก  เช่น  การเสียชีวิต  การหย่าร้าง  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกปกติธรรมดาที่มีกันในชีวิตประจำวัน  ที่อาจมีมากบ้างน้อยบ้าง  อย่างไรก็ตาม  หากอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น  หรือเป็นรุนแรง  และมีอาการต่าง ๆ  เช่น  นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ     เบื่ออาหาร  น้ำหนักลดลงมาก  หมดความสนใจต่อโลกภายนอก  ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป  ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้า    หากไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง  จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วย  และผู้ใกล้ชิด  ทั้งในด้านชีวิตการงาน  สังคม  และครอบครัว

                                การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็น  เป็นคนอ่อนแอ  คิดมาก  หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา  เอาแต่ท้อแท้  ซึมเศร้า  ที่ผู้ป่วยมีอาการเช่นนั้นเป็นจากตัวโรค  พูดง่าย ๆ ก็คือโรคนี้ทำให้เขาเกิดความเบื่อหน่าย  ทำให้ไม่มีสมาธิจะทำอะไร  ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม  โรคก็จะทุเลาลง  ผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นผู้ที่มีจิตใจแจ่มใส  ทำอะไรต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม

อาการ     

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า (major depressive disorder)  อาจพิจารณาโดยมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

            มีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

                       Ÿ  เบื่อหน่ายหมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ

                       Ÿ  อารมณ์ซึมเศร้า

           ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่  อาการขึ้นไป

                      Ÿ   เบื่ออาหาร  หรือน้ำหนักลด

                      Ÿ   นอนไม่หลับ

                      Ÿ   อ่อนเพลีย  ไม่มีเรี่ยวแรง

                      Ÿ   ความคิด  การเคลื่อนไหวเชื่องช้า  หรือกระสับกระส่าย

                      Ÿ   สมาธิ  ความจำเสื่อม

                      Ÿ   มีความคิดอยากตาย

                      Ÿ   รู้สึกตนเองไร้ค่า  ตำหนิตนเอง

         โดยมีอาการเหล่านี้แทบทุกวัน  ติดต่อกันนานอย่างน้อย  สัปดาห์

                นอกจากนี้อาจประเมินภาวะอารมณ์เศร้า  โดยใช้แบบประเมินภาวะอารมณ์เศร้า ( คลิกดูรายละเอียด)  แล้วนำมาคิดคะแนน  ถ้าคะแนนรวมน้อยกว่า  21  แสดงว่าไม่มีภาวะซึมเศร้า 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

                s กรรมพันธุ์  พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องในโรคซึมเศร้า  โดยพบว่าญาติใกล้ชิดของผู้ป่วย  ได้แก่  พ่อ แม่  พี่น้อง  ลูก  มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนปกติทั่วไป 1.5 - 3 เท่า

                s ปัจจัยทางชีวภาพ  พบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป  เป็นผลมาจากมีความผิดปกติของระบบสารเคมีในสมอง  โดยสารเคมีดังกล่าวที่สำคัญ  ได้แก่  ซีโรโทนิน (serotonin)  และ นอร์เอปิเนฟริน (norepinephrine)  ทำงานบกพร่องลงไป

                s สาเหตุทางจิตใจ  ผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้า  อาจเป็นจากการที่ตนเองมีการมองสิ่งต่าง ๆ ในด้านลบ  ได้แก่  มองตนเองในแง่ลบ  รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า  ไม่มีความสำคัญแก่ใคร  มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง  หรือมองโลกในแง่ร้าย

                โดยสรุป  โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีสาเหตุแต่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น  มักมีปัจจัยร่วมกันหลาย ๆ ด้าน

 

ขั้นตอนการรักษาและฟื้นฟูจิตใจ

                ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามักจะรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า  ไม่มีใครสนใจ  รู้สึกสิ้นหวัง  ไม่อยากจะสู้ปัญหาอะไร ๆ อีกเล้ว  แต่ขอให้มั่นใจว่าความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เป็นอยู่ตลอดไป  โรคนี้รักษาให้หายขาดได้  เมื่ออาการของโรคดีขึ้น  มุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบจะเปลี่ยนไป  ความมั่นใจในตนเองจะเพิ่มขึ้น  เริ่มมีกำลังใจที่จะสู้ปัญหา  ดังนั้น  เมื่อป่วยด้วยโรคซึมเศร้า  ถ้ามีอาการมาก ๆ  ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  และอาจต้องอาศัยการรับประทานยาร่วมกับวิธีอื่น ๆ

  วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า

  v พบและปรึกษาแพทย์

         จิตแพทย์ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ  สามารถให้คำปรึกษาหรือวางแผนการรักษาร่วมกับคุณได้  ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้อาการของคุณเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น  ในบางกรณีการรับคำปรึกษาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ  จึงจำเป็นต้องมีการรับประทานยาต่อต้านอารมณ์ซึมเศร้า (antidepressant drug)  ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น 

         : ยาต่อต้านอารมณ์เศร้า (antidepressant drug)   ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคซึมเศร้า  แต่ต้องใช้เวลา  โดยทั่วไปจะเห็นผลการรักษาหลังจากได้ยาไปแล้ว 1 - 2 สัปดาห์  และเมื่ออาการดีขึ้น  ยังจำเป็นต้องรับประทานยาต่ออย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคกลับกำเริบ (relapse)  โดยจะให้ยาต่อไปนี้นาน 4 - 6 เดือน  แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาลง  โดยใช้เวลาเป็นเดือน  ไม่ควรจะหยุดยาเองทันทีเพราะจะทำให้เกิดอาการไม่สบาย (withdrawal effects)  และหากผู้ป่วยมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 2 - 3 ครั้งขึ้นไป  ควรให้รับประทานยาต่อเนื่องไปนานอย่างน้อย 2-3 ปี  เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (recurrence) 

v การช่วยเหลือทางด้านจิตใจเบื้องต้น

      s การดูแลเอาใจใส่ตนเอง 

            1.  โดยการทำกิจกรรมที่เพลิดเพลิน  เช่น การออกกำลังกาย  ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรง  เพราะทำให้การนอนหลับดีขึ้น  การรับประทานอาหารดีขึ้น  การขับถ่ายดีขึ้น  นอกจากนี้จะทำให้จิตใจสบายด้วย

            2.  พยายามอย่าอยู่คนเดียว  การพูดคุยระบายความทุกข์ใจกับคนใกล้ชิด  ก็จะช่วยให้คลายทุกข์ลง  และได้รับกำลังใจจากคนข้างเคียง

            3.  การฝึกวิธีคิดที่จะช่วยให้ดีขึ้น  เช่น การมองข้อดีของตนเองให้มากขึ้น

            4.  อย่าด่วนตัดสินใจเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตในขณะที่มีอาการของโรคซึมเศร้ามาก ๆ  เพราะจะทำให้การมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเชิงลบ  และอาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้  ควรเลื่อนการตัดสินใจไปก่อน  หากจำเป็นต้องรีบตัดสินใจ  ควรปรึกษาผู้ใกล้ชิดหลาย ๆ  คน  ก่อนจะตัดสินใจอะไรลงไป

             5.  ฝึกเทคนิคผ่อนคลาย  เพื่อให้สมองทำงานดีขึ้น  แล้วทำให้จิตใจผ่อนคลาย  เทคนิคผ่อนคลายอย่างง่ายคือ  การฝึกควบคุมการหายใจ 

s การประเมินความเสี่ยงของการฆ่าตัวตาย  (suicidal risk) 

     ถ้ามีควรรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาล  หรือมีญาติดูแลใกล้ชิด  และให้คำแนะนำแก่ญาติในการดูแลเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย  เช่น

           à   ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยอยู่คนเดียว  ควรมีผู้ดูแลเป็นเพื่อนตลอดเวลา

           à   เก็บของมีคม  ยาอันตราย  หรือสิ่งของที่อาจนำมาใช้ทำร้ายตนเอง

           à  จัดให้อยู่ห้องพักชั้นล่าง  ถ้าจำเป็นต้องอยู่ชั้นบนก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ออกไปอยู่ที่ระเบียงหรือหน้าต่าง (เพื่อป้องกันการโดดตึก)

           à   ไม่พูดจาตำหนิ  ประชดประชัน  หรือพูดท้าทายให้ทำร้ายตนเองอีก

           à     จัดสิ่งแวดล้อมให้มีบรรยากาศผ่อนคลาย  และไม่มีอุปกรณ์เครื่องใช้ที่อาจนำมาเป็นเครื่องมือในการทำร้ายตนเอง  เช่น  แก้ว  เชือก

 

 

 

     

 

 

 

     ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและปัญหาพฤติกรรม

<ห้องรับแขก

  คลินิคจิต-ประสาท 563 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กทม 10300  โทร. 0-2243-2142  0-2668-9435

   ส่งเมล์ถึง panom@psyclin.co.th พร้อมด้วยข้อสงสัยหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซท์นี้
   ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด:21/05/50